ปี 2553 กำลังเปิดรับสมัครทั้ง สอบตรง และโครงการช้างเผือกแล้วค่ะ
เข้าไปดูในเว็บนี้ได้เลย http://fineart.buu.ac.th/
"มีอะไรใน MUPA"
มาดูกันว่าในสาขาดนตรีและการแสดง มีเอกอะไรให้เราเลือกได้บ้างเอ่ย?
อันเอามาจากกำหนดการสอบนะคะ ^^ สอบเข้าอันไหน ก็อยู่เอกเครื่องมือหรือแขนงนั้นไปเลยน้าา
สาขาดนตรีและการแสดง
ดนตรีไทย
เอกขับร้องเพลงลูกทุ่ง (แห่งแรกในประเทศไทย!)
เอกขับร้องเพลงไทย
เอกเครื่องสายไทย
เอกปี่พาทย์
ดนตรีสากล
Woodwind (เครื่องลมไม้)
Brasswind (เครื่องลมทองเหลือง)
Percussion & Pitch Percussion (เครื่องกระทบ และเครื่องกระทบที่มีระดับเสียง
Piano, Key Board (เครื่องลิ่มนิ้ว)
Voice (ขับร้อง)
Electronic Music Instrument (เครื่องดนตรีไฟฟ้า)
Strings (เครื่องสาย)
Guitar Classic (กีตาร์คลาสสิค)
นาฏศิลป์และการกำกับลีลา
การแสดงและการกำกับการแสดง
Acting - เอกการแสดง
แยกแขนงออกไปอีกคือ Acting กับ Dance ค่ะ เป็นวิชาเลือกค่ะ
Director - เอกการกำกับการแสดง
อยากเป็น MUPA ต้องเตรียมตัวอย่างไร!
ฝึก ฝึก แล้วก็ ฝึก กลายเป็นคำคมของ MUPA ไปแล้วค่ะ และก็เห็นผลตามนั้น คนที่ซ้อมมาก
ฝึกมากก็ยิ่งได้มาก และเก่งมากขึ้นด้วย มันเป็นสาขาที่ต้องอาศัยความสร้างสรรค์และการลงมือ
ปฏิบัติค่ะลำพังพึ่งแต่ทฤษฎีคงไม่ไหวแน่ๆ การสมัคร และกำหนดการต่างๆ มีครบถ้วนชัดเจนในเว็บค่ะ ซึ่ง
เราจะคอยอัพเดทความเคลื่อนไหวในแต่ละปีให้อยู่แล้ว >.^ เนอะ อิิอิ อยากเป็น MUPA ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ
สาขานี้ให้โอกาสคนที่มีความตั้งใจจริงเสมอ ถึงเราจะไม่ได้เข้มงวดในการรับเข้าเหมือนมหาวิทยาลัยดนตรีดังๆ
แต่เราเน้นพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้ได้ดีที่สุด ค่ะ ดังนั้น ทุกคนก็เร่งศึกษาว่าแต่ละเครื่องมือเอกเขาสอบกันอย่าง
ไร แล้วเราก็ซ้อมมันจนมั่นใจกันไปข้าง ^0^= เรามาดูรายละเอียดที่ควรเตรียมกันดีกว่าค่ะ หยิบยกมาจากข้อมูล
ที่ทางเว็บของคณะประกาศนั่นแหละค่ะ ^^- เพื่อความกระจ่าง ควรเข้าไปดูอีกทีนะคะ
สิ่งที่ผู้เข้าสอบต้องเตรียมตัวในการสอบภาคปฏิบัติ
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมอุปกรณ์มาดังนี้
( อ้างอิงเอกสาร : การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
ประเภทสอบคัดเลือกตรง ประจำปีการศึกษา 2553 )
5.2.2 รหัสวิชา 07 ทฤษฎีดนตรีไทย
(1) วิชาเอกขับร้องเพลงลูกทุ่ง ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ
ประวัติเพลงลูกทุ่ง ศิลปินลูกทุ่ง เพลงลูกทุ่ง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการละคร การออกแบบ
เพื่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย และดนตรีสากล เป็นต้น
(2) วิชาเอกเครื่องสายไทย ปี่พาทย์และขับร้องเพลงไทย ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเนื้อหา
รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติดนตรีไทย, ประวัตินักดนตรีไทย, ประวัติเพลงไทย, การประสมวง
ดนตรีไทย, ศัพท์สังคีต, การจัดการการแสดง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการละคร การออกแบบ
เพื่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย และดนตรีสากล เป็นต้น
5.2.3 รหัสวิชา 08 ปฏิบัติดนตรีไทย
สามารถเลือกสอบในวิชาเอกขับร้องเพลงลูกทุ่ง ปี่พาทย์ เครื่องสาย ขับร้องเพลงไทยเดิม
ตามความถนัด โดยผู้เข้าสอบต้องเตรียมเพลงเพื่อแสดงต่อหน้าคณะกรรมการ ดังนี้
(1) วิชาเอกขับร้องเพลงลูกทุ่ง
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเพลงที่สามารถแสดงถึงความสามารถและศักยภาพด้านการขับร้อง
เพลงลูกทุ่ง ต่อคณะกรรมการจำนวน 2 เพลง (เพลงช้าและเพลงเร็วอย่างละ 1 เพลง) โดยผู้เข้าสอบ
ต้องเตรียมแถบบันทึกเสียงดนตรี (Backing Track) มาด้วยตนเอง ในกรณีที่ผู้เข้าสอบไม่สามารถ
หาแถบบันทึกเสียงดนตรีได้ ผู้เข้าสอบต้องแจ้งต่อคณะกรรมการสอบล่วงหน้าเวลาสอบ 30 นาที
เพื่อเตรียมเพลงจากเครื่องเล่นคาราโอเกะ หรือ MP3 ที่คณะกรรมการสอบได้จัดเตรียมไว้ให้
(2) วิชาเอกเครื่องสายและขับร้องเพลงไทย
(2.1) ผู้เข้าสอบสามารถเลือกบรรเลงบทเพลงบรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการ ได้แก่
เพลงเขมรไทรโยค สามชั้น, เพลงแป๊ะ สามชั้น, เพลงต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น, เพลงสุดสงวน สามชั้น,
เพลงโหมโรงไอยเรศ, เพลงอกทะเล สามชั้น, เพลงแขกลพบุรี สามชั้น, เพลงราตรีประดับดาว
สามชั้น, เพลงเขมรพวง สามชั้น, เพลงนางครวญ สามชั้น, เพลงเขมรลออองค์, จระเข้หางยาว
สามชั้น โดยเลือกปฏิบัติต่อหน้าคณะกรรมการจำนวน 1 เพลง
(2.2) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเพลงที่นอกเหนือจากบทเพลงที่กำหนดให้เพื่อบรรเลง
ต่อหน้าคณะกรรมการสอบอีกจำนวน 1 เพลง
(3) วิชาเอกปี่พาทย์
(3.1) ผู้เข้าสอบสามารถเลือกบรรเลงบทเพลงบรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการได้แก่
เพลงในชุดโหมโรงเช้า 1 เพลง, เพลงฉิ่งมุล่ง, เพลงในชุดตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น 1 เพลง, เพลง
แป๊ะ สามชั้น, เพลงเขมรไทรโยค สามชั้น, เพลงอกทะเล สามชั้น, เพลงแขกมอญบางขุนพรม
สามชั้น โดยเลือกปฏิบัติต่อหน้าคณะกรรมการจำนวน 1 เพลง
(3.2) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเพลงที่นอกเหนือจากบทเพลงที่กำหนดให้เพื่อบรรเลง
ต่อหน้าคณะกรรมการสอบอีกจำนวน 1 เพลง
5.2.4 รหัสวิชา 09 ทฤษฎีดนตรีสากล
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติดนตรีตะวันตก ทฤษฎีดนตรี
ตะวันตก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการละคร ดนตรีไทย เป็นต้น
5.2.5 รหัสวิชา 10 ปฏิบัติดนตรีสากล
Woodwind ( เครื่องลมไม้)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต (Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
Brasswind (เครื่องลมทองเหลือง)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต(Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
Percussion & Pitch Percussion (เครื่องกระทบ และเครื่องกระทบที่มีระดับเสียง)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต(Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
Key Board (เครื่องลิ่มนิ้ว)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต (Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
Voice (ขับร้อง )
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต (Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
ทดสอบทักษะการร้อง (Sight Singing)
Electronic Music Instrument (เครื่องดนตรีไฟฟ้า)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 1-2 เพลง (เพลงบรรเลง)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต (Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
Strings (เครื่องสาย)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต(Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
Guitar Classic (กีตาร์คลาสสิค)
เตรียมเพลงที่ใช้สอบมา 2 เพลง (เพลงช้า และ เพลงเร็ว)
ทดสอบบันไดเสียงไม่เกิน 4 # 4b (Scales & Arpeggio 2 octave)
ทดสอบทักษะการอ่านโน้ต (Sight Reading) และทักษะการฟัง (Ear Training)
หมายเหตุ ผู้เข้าสอบต้องนำเครื่องดนตรีของตนเองมาในวันสอบปฏิบัติ ยกเว้นเครื่องดนตรี
ในกลุ่มเครื่องกระทบ เครื่องลิ่มนิ้ว และเครื่องขยายเสียง
5.2.6 รหัสวิชา 11 ทฤษฎีนาฎศิลป์
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติการละครไทย การวิเคราะห์
ท่ารำ ในนาฏศิลป์ไทย วรรณคดีการละคร นาฏยศัพท์ ดนตรีประกอบการแสดง ละครตะวันตก
การออกแบบเพื่อการแสดง การจัดการการแสดง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการละคร ดนตรีไทย
และดนตรีสากล เป็นต้น
5.2.7 รหัสวิชา 12 ปฏิบัตินาฎศิลป์
(1) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมรำประเภทรำมาตรฐานต่อหน้าคณะกรรมการได้แก่ รำแม่บท
เล็ก รำช้า-เร็ว รำดาวดึงส์ ระบำสี่บท รำกฤษฎาภินิหาร ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายเบญกาย
ฉุยฉายพราหมณ์ จำนวน 1 เพลง โดยผู้เข้าสอบต้องนำผ้าแดงมาเปลี่ยนในขณะปฏิบัติการสอบ
ด้วยตนเอง และคณะกรรมการมีเพลงประกอบการแสดงเตรียมให้เรียบร้อยแล้ว
(2) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมรำประเภทพื้นเมืองต่อหน้าคณะกรรมการโดยเลือกปฏิบัติ
การสอบตามระดับความสามารถและความถนัดของตนเอง
(3) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเพลงที่นอกเหนือจากคณะกรรมการสอบกำหนดให้ โดย
ปฏิบัติการสอบต่อหน้าคณะกรรมการตามความถนัดของผู้เข้าสอบอีกจำนวน 1 เพลง
5.2.8 รหัสวิชา 13 ทฤษฎีการแสดง
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมเนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับการแสดงเบื้องต้น ประวัติละครตะวันตก
วรรณคดีการละคร การออกแบบเพื่อการแสดง การจัดการการแสดง ดนตรีประกอบการแสดง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย ดนตรีสากล และนาฏศิลป์ไทย เป็นต้น
5.2.9 รหัสวิชา 14 ปฏิบัติการแสดง
(1) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมการแสดงต่อหน้าคณะกรรมการสอบโดยเตรียมการแสดง
ที่สามารถแสดงให้คณะกรรมการเห็นว่าท่านมีศักยภาพและความเข้าใจในด้านการแสดง
สามารถพัฒนาและเข้าศึกษาต่อได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีความยาวการแสดงไม่เกิน 5 นาที
ผู้เข้าสอบต้องเตรียมชุดสำหรับการซ้อมมาเปลี่ยนในขณะทำการสอบด้วยตนเอง
(2) ผู้เข้าสอบต้องเตรียมแฟ้มสะสมงานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและประสบการณ์
ในการฝึกปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงมาแสดงต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อประกอบการ
พิจารณารับเข้าศึกษาต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น