Mus[i]c!SM View my profile
Previous
* เพลงตับ เพลงเถา
* การประสมวงดนตรีไทย
* หน้าที่เครื่องดนตรีไทยประเภทต่างๆ
* ประเภทการบรรเลงประกอบการแสดงและบรรเลงตามกาลเทศะ
* การบรรเลงอิสระและการรับร้อง
Recommend
Favourites
* MOOKz
Links
Latest Comments
* เพลงตับ เพลงเถา
* หน้าที่เครื่องดนตรีไทยประเภทต่างๆ
* ประเภทการบรรเลงประกอบการแสดงและบรรเลงตามกาลเทศะ
* การประสมวงดนตรีไทย
Archives
* Dec 2009
* Nov 2009
* Oct 2009
* Sep 2009
* Aug 2009
* more
Categories
เพลงตับ เพลงเถา
posted on 03 Nov 2008 19:14 by musicism
เพลงตับ-เพลงเถา
เพลงตับ หมายถึง เพลงที่บรรเลงเป็นเรื่อง มีแขนงย่อยแบ่งออกเป็น ตับเรื่อง และตับเพลงอยุธยา
ความเป็นมาของเพลงตับ
เพราะขาดการบันทึกความ เป็นมาของไทยเก่า ๆ ส่วนใหญ่จึงไม่ทราบที่มาอีกทั้งนักดนตรีก็ถ่อมตน สังเกตจากผู้ประพันธ์ อาจเกรงว่าจะถูกตำหนิจากครูผู้ใหญ่ บางท่านเกรงว่าเพลงของตนไม่ไพเราะจึงนำออกมาทดสอบก่อน แต่หลังจากเพลงเป็นที่นิยมกลับไม่ได้ถามหรือไม่มีโอกาส สอบถามว่าเป็นผลงานของครูใด ชนรุ่นหลังจึงรู้จักความเป็นมาของเพลงน้อยนัก แต่บทเพลงระยะหลังมีประวัติสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ท่านใดเป็นผู้ประพันธ์ ประพันธ์ขึ้นด้วยเหตุผลใดใช้ในโอกาสใด มักมีผู้รวบรวมไว้เป็นหลักฐานไว้เสมอ
เพลงตับในยุคเก่าก็ไม่ทราบความเป็นมาที่ชัดเจนเช่นกัน โดยนิยมตอบอธิบายว่าเป็นบทเพลงที่สืบต่อมาแต่ครั้งกรุงศรี โดย แต่ละบทเพลงมีความเกี่ยวพันธ์กับประเพณี พิธีกรรม การแสดง บุคคลและจุดประสงค์อื่นๆ การที่ผู้บรรเลงสามารถรู้ถึงความเป็นมาและเจตนาของบทเพลงได้ ย่อมเข้าใจและสามารถถ่ายทอดได้ตามเจตนา เพื่อให้ผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวได้สมบูรณ์ถูกต้องตามเจตนามากยิ่งขึ้น บทเพลงที่ใช้บรรเลงอย่างเดียวกับเพลงมีร้องประกอบ เป็นที่เข้าใจกันเมื่อบรรเลงประกอบพิธีกรรมกับมหรสพ ดนตรีจะใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาอาการของตัวละครและใช้เพลงเบ็ดเตล็ด รับรองเป็นการบรรยายเนื้อเรื่องประกอบ เพลงเบ็ดเตล็ด ที่นำมาร้องนี้มีที่มาจากเพลงชุดอย่างเพลง มโหรี เพลงเรื่อง และเพลงตับ ในปัจจุบันก็ได้รับการสืบทอดและประพันธ์เพิ่มเติมมาจากเพลงชุดต่างๆ ในอดีตทั้งที่สืบทอดมาโดยตรงและปรุงขึ้นใหม่ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
เพลงยานี
เมื่อนั้น องค์ท้าวทศพักตร์ยักษา
แลเห็นเบญกายแปลงมา ได้อย่างสีดาไม่คลาดคลาย
แย้มยิ้มพริ้มพักตร์พยักตรัส แม้นหลานตัดศึกสมอารมณ์หมาย
เมืองมารจะเป็นสุขสนุกกาย เจ้าเร่งผันผายไปให้ทันกาล
๑. ตับเรื่อง หมาย ถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ ฟังแล้วรู้เรื่องโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตราและคนละประเภท เช่น ตับนางลอย ตับพระลอ (ตับเจริญศรี) พราหมณ์เก็บหัวแหวน แขกบรเทศ เชิดนอก
ตับพระลอ(ตับเจริญศรี) ได้แก่เพลง เกริ่น ลาวเล็กตัดสร้อย ลาวเล่นน้ำ สาวกระตุกกี่ กระแตเล็ก ดอกไม้เหนือ ลาวเฉียง ลาวครวญ ลาวกระแช
๒. ตับเพลง หมาย ถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลง จะต้องมีสำนวนและทำนองสอดคล้องต้องกัน คือ มีเสียงขึ้นต้นเพลงและสำเนียงคล้ายกัน เป็นเพลงในอัตราจังหวะเดียวกัน ได้แก่ เพลงอัตราสองชั้น เช่น ตับต้นเพลงฉิ่ง หรือเพลงอัตราสามชั้น เช่น ตับลมพัดชายเขา ตับต้นเพลงฉิ่ง ยก ตัวอย่าง เพลงตับ เช่น ตับวิวาห์พระสมุทร ประกอบด้วยเพลง ๓ เพลงคือ คลื่นกระทบฝั่ง (๒ ชั้น ) แขกบังใบ (๒ ชั้น ) แขกสาหร่าย (๒ ชั้น ) เป็นต้น
ตับลมพัดชายเขา (สามชั้น) ได้แก่เพลง ลมพัดชายเขา แขกมอญบางช้าง ลมหวน เหราเล่นน้ำ
ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น) ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง จระเข้หางยาว ตวงพระธาตุ นกขมิ้น
ตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น) ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง สามเส้า ตวงพระธาตุ นกขมิ้น ธรณีร้องไห้
ลมพัดชายเขา
พระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
เวลาดึกเดือนตกนกร้อง ระวังไพรไก่ก้องกระชั้นขัน
เสียงดุเหว่าเร้าเรียกหากัน ฟังหวั่นว่าเสียงทรามวัย
พระลุกขึ้นเหลียวแลชะแง้หา เจ้าตามาร้องเรียกหรือไฉน
ลมชวยรวยรสสุมาลัย หอมกลิ่นเหมือนสไบบังอร
หน้าที่ของเพลงตับ
ตามที่ได้กล่าวถึงความ สำคัญของเพลงตับมาแล้ว หน้าที่จึงเป็นข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของเพลงตับ ดังจะอธิบายตามหัวข้อต่อไปนี้
1. ประกอบมหรสพ
หน้าที่ของเพลงตับใน ประเด็นนี้ถือว่าสำคัญมาก เนื่องจากนักแสดงและนักดนตรีนั้นอยู่คู่กันการเกิดขึ้นของตับเรื่อง ต่างก็ใช้ประกอบการแสดงทั้งละคร โขน หนัง เป็นต้น เมื่อนักดนตรีนำเพลงที่บรรเลงประกอบนั้นไปใช้โดยที่ไม่ได้มีตัวแสดงหรือตัว ละครไปด้วย การดูละครพร้อมการฟังเพลง จึงเหลือเพียงการฟังอย่างเดียว เรียกเป็นเพลงตับตามชื่อเรื่อง กล่าวคือ ร้องและบรรเลงเป็นเรื่องราวติดต่อกัน
2. ประกอบพิธีกรรม
หน้าที่ของดนตรีมักถูกจัด เป็นกลุ่มประกอบไม่โดดเด่นเช่นโขนละคร การบรรเลงดนตรีจึงไม่เรียกเป็นแสดงซึ่งหมายถึงทำให้ดู แต่การบรรเลงดนตรีสามารถรับรู้ได้โดยประสาทหู ดังนั้นการบรรเลงหรือประโคมดนตรีที่นอกจากคู่กับการแสดงแล้ว การประโคมประกอบพิธีกรรมก็ทำให้ดนตรีมีความสำคัญขึ้นมาด้วย และพิธีกรรมนี้เองที่เป็นเหตุผลหนึ่งของการบรรเลงเพลงตับ
พิธีกรรมมีความสัมพันธ์ กับเพลงตับนั้น อาจไม่คุ้นเคย แต่ความเป็นจริงแล้ว พิธีกรรมหรืองานพิธี ย่อมมีดนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอยู่แล้ว โดยมากบทเพลงที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงจะเป็นสำคัญเฉพาะช่วง อย่างเช่น เพลงสาธุการก็ใช้ระหว่างจุดธูปเทียน ส่วนเพลงตับต่างทั้งตับเรื่องและตับเพลง ก็ถูกนำมาบรรเลงเช่นกัน เนื่องจากเดิมที่ของเพลงตับมีภาพที่ติดกับการแสดงและสำหรับเจ้านาย จึงไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในระดับสามัญชน แต่ในความเป็นจริงเพลงตับต่างๆ ถูกนำมาประโคมและมิได้มีการกำหนดเฉพาะลงไปว่าจะต้องบรรเลงในเวลาใดเป็นพิเศษ กล่าวคือ เมื่อสามารถหาโอกาสเวลาที่สมควรกับความสั้นยาวของตับนั้นๆ ก็สามารถนำมาบรรเลงได้
การนำเพลงตับมาบรรเลงใน ระหว่างพิธีกรรมนี้มิได้หมายถึงในขณะกระทำพิธีหนึ่งพิธีโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการนำมาบรรเลงในระหว่างพักหรือรอเวลา ที่จะมีพิธีกรรมอื่นต่อไป ยิ่งก่อนที่จะมีเพลงเถาด้วยแล้ว การบรรเลงเพลงเกร็ดต่างๆ ถูกเรียงร้อยเป็นสำรับไว้ภายในหมู่คณะหรือครูเดียวกัน เมื่อได้เวลาก็จะนำเพลงชุดนั้นมาบรรเลง โดยไม่ได้คำนึงถึงความต่อเนื่องของบทร้องหากแต่มุ่งบรรเลง ด้วยมีความมุ่งหมายที่แฝงไว้เพื่อการฝึกซ้อมระหว่างงานและเป็นการรอพิธีกรรม ในช่วงว่างจากพิธีกรรมนี้ผู้มาร่วมงานส่วนหนึ่งอาจนั่งสนทนาพร้อมกับฟัง ดนตรีไปด้วยหรืออาจไม่สนใจฟัง แต่ถึงอย่างไรดนตรีจะหยุดนานไม่ได้เพราะเดี๋ยวจะมีเสียงเรียกร้อง ผู้เขียนเคยร่วมงานทั้งเป็นผู้บรรเลงและนั่งฟังในพิธีกรรม ผู้ร่วมงานมักจะเริ่มคุยระหว่างที่ดนตรีบรรเลงและจะหยุดคุยมองซ้ายขวากัน เมื่อดนตรีหยุด เข้าใจว่าเป็นการพักเสียงและดูว่าจะมีพิธีใดต่อหรือไม่ เหตุที่มีผู้ฟังอยู่บ้างนี่เองวงดนตรีที่มีความพร้อมจะนำบทเพลงที่เตรียมมา ออกบรรเลงอวด แต่ถ้าไม่ได้เตรียมหรือเตรียมน้อยก็นิยมนำเพลงหากินหรือเพลงที่บรรเลงอยู่ เป็นประจำมาบรรเลงในช่วงนั้นๆ และช่วงนี้เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่เพลงตับจะถูกนำเสนอ
ดังนั้นมีพิธีกรรมเพลงตับจะถูกนำมาเสนอเพื่อบรรเลงรอพิธีกรรม หรือค่าเวลา เป็ฯการฝึกซ้อมนอกสถานที่และเป็นการบรรเลงอวดความสามารถเฉพาะของวงดนตรีได้ ด้วย เพราะหากไม่มีพิธีกรรมแล้วจะหาโอกาสบรรเลงหรือรวมตัวกันยาก ยิ่งมิได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องอย่างการจัดประกวดหรือโอกาสพิเศษ อื่นด้วยแล้วเรียกได้ว่าไม่ได้ยินเสียงฝึกซ้อมกันเลย แนวการบรรเลงเพลงตับ
เรื่องแนวทางการบรรเลงนี้ มีผู้อธิบายในประเด็นต่างๆ กันอยู่หลายประเด็น โดยทั่วไปจะหมายถึงการควบคุมการบรรเลงสำหรับดนตรี แนวทางการบรรเลงจะขึ้นปัจจัยหลายประการได้แก่ ประเภทวงดนตรี ขีดความสามารถหรือความพร้อมของผู้บรรเลง ธรรมชาติของเพลงที่นำมาบรรเลง โอกาสหรือผู้ฟังและความมุ่งหมายของการบรรเลงเป็นประเด็นสุดท้าย ดังนั้นแนวทางการใช้หรือเลือกลีลาการบรรเลงถ้าเป็นวงที่มีการปรับหรือฝึก ซ้อมมาย่อมมีความพร้อม แต่วงที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยบรรเลงร่วมกันนี้ เป็นเรื่องสนุกและเกร็ดของการบรรเลงดนตรี ด้วยต้องตีความสามารถของผู้บรรเลงร่วมวงเท่ากับผู้ฟังไว้ก่อน
สำหรับแนวการบรรเลงเพลง ประเภทเพลงตับ ถ้าเป็นตับเรื่องซึ่งมักจะเป็นวงปี่พาทย์ทำการบรรเลงลีลาของบทเพลงจะเป็นตัว กำหนดแนวการบรรเลงอยู่แล้ว ด้วยมีเพลงปกติและเพลงหน้าปี่พาทย์ที่จะบอกลีลาอารมณ์อยู่แล้ว ส่วนตับเพลงมีความหลากหลายอยู่มากเช่นกัน ด้วยมีสำนวนเพลงเฉพาะตับไม่เหมือนกัน บางตับก็มีสำเนียงภาษาด้วยลีลาที่ทำการบรรเลงจึงต้องทำความรู้จักให้กว้าง ขวางยิ่งขึ้น โดยการดำเนินกลอนในบทเพลง เช่น ตับจู่ล่ง (สำเนียงจีน) ลีลาอาจจะกระโดกกระเดกบ้าง ถ้าเป็นตับเพลงฉิ่ง ตับลมพัดชายเขา ลีลาที่ใช้ควรจะเป็นการเน้นการดำเนินทำนอง ที่แสดงถึงความรุ่มลึกในการใช้เครื่องมากกว่าการใช้เทคนิคที่ความโลดโผน ตัวอย่างการดำเนินกลอนขึ้น
เพลงเถา
เพลงเถา หมายถึง เพลงขนาดยาวที่มีเพลงสามชนิดติดต่ออยู่ในเพลงเดียวกัน โดยการบรรเลงเพลงอัตราสามชั้นก่อน แล้วเป็นเพลงอัตราสองชั้น ลงมาจนถึงเพลงอัตราชั้นเดียว เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นวิวัฒนาการที่สำคัญของคนไทย
ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของ เพลงไทยคือการที่บางเพลงจะมีการแต่งไว้ในอัตราจังหวะที่แตกต่างกัน อัตราจังหวะที่ว่าของเพลงไทยนี้โดยหลักๆ แล้วจะประกอบด้วย อัตราจังหวะ ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว ถ้าพูดกันแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือชั้นเดียวจะเร็วที่สุด และ ๓ ชั้นจะช้าที่สุด แต่ถ้าจะถามว่าแล้วเร็วช้าต่างกันแค่ไหน ก็คงต้องขยายความแบบง่ายๆ เหมือนเดิมว่า โดยปกติเพลงไทยแต่เดิมจะถูกแต่งขึ้นในอัตราสองชั้นครับ เป็นอัตราจังหวะความเร็วปานกลาง เพลงสามชั้นนั้นทำโดยการขยายจังหวะ และทำนองเพลงขึ้นเป็น ๒ เท่าจากโครงเพลงในอัตราสองชั้น ยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่า เพลง ก. ในอัตราสองชั้นมีความยาว ๔ บรรทัด เมื่อขายเป็นสามชั้น เพลง ก. ก็จะมีความยาว ๘ บรรทัด ในทางตรงกันข้ามถ้าทำการ "ตัด" ทำนองลงครึ่งหนึ่งจากโครงเพลงสองชั้นเดิมก็จะกลายเป็นเพลงในอัตราชั้นเดียว ครับ ยกตัวอย่างเดิม เพลง ก. ๒ ชั้นความยาว ๔ บรรทัด เมื่อตัดลงเป็นชั้นเดียวก็จะเหลือเพียงสองบรรทัด แต่กฏที่ว่านี้ไม่ตายตัวเสียทีเดียวนะครับยังมีข้อพิจารณาปลีกย่อยอีก หลายอย่าง ที่บอกมาเป็นเพียงภาพคร่าวๆ ที่อธิบายความแตกต่างของเพลงในอัตราจังหวะต่างกันเท่านั้น โม้มานานดูเหมือนจะไม่ได้ตอบคำถามแต่จริงๆ แล้ว การที่แต่งขยายเพลง ๒ ชั้นเพลงใดเพลงหนึ่งขึ้นเป็นอัตราสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว สำหรับใช้บรรเลงต่อเนื่องกันแล้ว เพลงที่ประกอบด้วยท่วงทำนองจังหวะทั้งสามอัตรานี่แหละครับที่เรียกว่า "เพลงเถา"ยกตัวอย่างเพลงเถา เช่น สุดสงวน เถา ประกอบด้วย เพลง สุดสงวน ๓ ชั้น - ๒ ชั้น - ชั้นเดียว ฯลฯ
ลักษณะสำคัญของเพลงเถาสรุปได้ดังนี้
1. เป็นเพลงที่มีอัตรา (ชั้น) ลดหลั่นกันตามลำดับ
2. เพลงที่ขับร้องหรือบรรเลงนั้นต้องมีไม่น้อยกว่า 3 อันดับ
3. ทุกอันดับจะต้องเป็นเพลงเดียวกันทุกอัตรา
4. เพลงที่ขับร้องหรือบรรเลงนั้น จะต้องขับร้องหรือบรรเลงติดต่อกัน จะมีทำนองเพลงหรือสิ่งใดมาแทรกไม่ได้
การบรรเลงเพลงเถานี้ โดยปกติจะบรรเลงเพลงอัตรา 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว แต่ถ้าจะบรรเลงกลับกันโดยเรียงลำดับ เป็นชั้นเดียว 2ชั้น 3 ชั้น ก็ได้ ดังที่ปรากฏในการบรรเลงเพลงเดี่ยวบางเพลง
เพลงเถาอาจจะขึ้นต้นบรรเลงด้วยอัตรา 2 ชั้น ออกสู่อัตราชั้นเดียว แล้วจบลงด้วยอัตราครึ่งชั้นก็ได้ เช่น เพลงพันธุ์ฝรั่งเถาหรืออาจจะขึ้นต้นบรรเลงด้วยอัตรา 4 ชั้น แล้วลดเข้าสู่อัตรา 3 ชั้นจบลงในอัตรา 2 ชั้น เช่นเพลง เขมรไทรโยคเถา ของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) หรืออาจจะเริ่มจาก 4 ชั้น แล้วลดลงไปตามลำดับ จบลงในชั้นเดียว เรียกว่า เพลงเถาใหญ่ หรือ เพลงเถาพิเศษ เช่น เพลงเขมรไทยโยค เถาใหญ่ เพลงพราหมณ์ดีดน้ำเต้า เถาใหญ่ ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ แต่ส่วนมากแล้วเพลงเถาจะขึ้นต้นบรรเลงด้วยอัตรา 3 ชั้น แล้วไปจบลงที่ชั้นเดียว
เพลงเถาบางเพลงอาจมาจากเพลงอัตราชั้นเดียวแล้วขยายขึ้นไปเป็น อัตรา 2 ชั้น จากนั้นขยายขึ้นไปอีกหนึ่งเท่าตัวเป็นเพลง 3 ชั้น ตัวอย่างเช่น การนำเพลงชื่อไส้เดือนฉกจวักหรือนาคราชซึ่งเป็นเพลงชั้นเดียว ขยายขึ้นเป็นเพลง 2 ชั้น แล้วเรียกชื่อใหม่ว่าเพลงนาคราชแผ่พังพาน แล้วยืดต่อขึ้นไปอีกเป็นอัตรา 3 ชั้นจนครบเป็นเพลงเถา หรือไส้พระจันทร์ เถา ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
เพลงเถาบางเพลงเกิดขึ้นเป็นเพลง 3 ชั้นก่อน แล้วจึงย่อลงมาเป็นเพลง 2 ชั้น และชั้นเดียวจนครบเป็นเพลงเถา เช่น
เพลงสุดสงวนเถา เพลงสาลิกาชมเดือน เถา และเพลงจะเข้หางยาว ทางสักวาเถาตัวอย่าง เพลง เขมรพวงเถา เดิมเป็นเพลงสองชั้น ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้คิดแต่งขึ้นเป็นสามชั้น ดำเนินทำนองเป็นคู่กันกับเพลงเขมรเลียบพระนคร เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วหมื่นประคมเพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และมีทำนองชั้นเดียวโดย นายเหมือน ดุริยะ ประกิตเป็นผู้แต่ง เพลงเถานิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปของเพลงรับร้อง คือเมื่อร้องจบท่อน ดนตรีก็บรรเลงรับ ไม่นิยมนำเพลงเถามาร้องให้ดนตรีบรรเลงคลอ หรือบรรเลงลำลองแต่อย่างใด ตัวอย่างเพลงเถา ได้แก่เนื้อเพลง เขมรพวง เถา
(ขุนช้าง ขุนแผน)
สามชั้น นิจจาพิมเจ้าไม่รู้ว่าพี่รัก ไม่ชังนักดอกหานึกเช่นนั้นไม่
รักเจ้าเท่าเทียบเปรียบดวงใจ กอดประคองน้องไว้ไม่วายวาง
สองชั้น แว่วดุเหว่าเร่าร้องเมื่อจวนรุ่ง ใจสะดุ้งเอ๊ะเกือบจะสางสาง
ขยับเลื่อนลุกเปิดหน้าต่างพลาง เห็นเรื่อยรางสว่างหล้าดาราราย
ชั้นเดียว อับศรีสุริยาจะรีบลด ยิ่งระทดจะจากไปให้ใจหาย
โศกซ้ำน้ำตาลงพร่างพราย เสียดายดังใครล้วงเอาดวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น