12 ตุลาคม 2554

การปลูกพริกปลอดสารพิษ | how to do a organic chilli

การปลูกพริกปลอดสารพิษ
การเตรียมการก่อนปลูกพริกปลอดสารพิษ
1. การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจาก พด.2 จากพืช เช่น เหง่ากล้วย, ผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ มีสูตรดังนี้
- เหง่ากล้วย ผักหรือผลไม้ (สับชิ้นเล็ก ๆ ) 40 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
- น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ
- ละลายสารเร่ง พด.2 ในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากันทิ้งไว้ 5 - 10 นาที
- ผสมเศษวัสดุ (เหง่ากล้วย, ผักหรือผลไม้ และกากน้ำตาลในถังหมัก ขนาด 50 - 100 ลิตร
(ไม่ใช้ถังโลหะ)
- เทสารละลาย พด.2 ลงในถัง และกวนในเข้ากัน ไม่ต้องปิดฝาให้สนิท
- นำไปเก็บไว้ในที่ร่มใช้เวลา 21 วัน นำไปใช้ประโยชน์ได้
วิธีใช้
  • ใช้อัตรา 2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร
  • ฉีด 10 วัน/ครั้ง
ประโยชน์ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
  • เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
  • เพิ่มการขยายตัวของใบ และการยึดตัวของลำต้นมากขึ้น
  • ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น
  • ปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
2. การทำปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์
- ขี้วัวแห้ง 1 ส่วน
- ขี้เห็ดฟาง 3 ส่วน
นำมาผสมคลุกเคล้ากัน
  • ปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืช/สัตว์ 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ให้ได้ความชื้น 40% หมักในกระสอบปุ๋ย ผูกปากถุงทิ้งไว้ 1 เดือน นำไปใช้แปลงปลูกพริก 1 กิโลกรัม/ 1 ตารางเมตร ก่อนปลูกพริก 10 วัน
วิธีการเตรียมเบี้ยพันธุ์
-
ไถพรวนเตรียมดินตากแดดไว้พอแห้ง ตีดินให้ละเอียด รองพื้นแปลงด้วยปุ๋ยคอกโรยให้ทั่วพอประมาณจากนั้นหว่านเมล็ดได้เลย หว่านเมล็ดเสร็จแล้วหาเศษฟางมาคลุมทับไว้เพื่อเก็บความชื้นและรดน้ำให้ ชุ่มทันที ปลูกประมาณ 30 – 45 วัน ก็ย้ายลงแปลงปลูกได้
วิธีการเตรียมแปลงปลูกพริก
1.
ไถพรวนเตรียมดินตากแดดไถครั้งที่ 1 หว่านปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับการหว่านปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์ 100 กิโลกรัม แล้วไถแปร
2.
ไถครั้งที่ 2 (ไถพรวน) ระยะห่างกัน 20 วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและให้ดินร่วนซุย
3.การยกร่อง ระยะห่างระหว่างร่อง 1.20 เมตร แปลงปลูกกว้าง 1 เมตร เตรียมแปลงยกสูง 20 ซม. ทำเป็นร่อง เพื่อจะได้ระบายน้ำได้ดี
4.
ย้ายต้นพริกลงปลูกแบบปักดำ ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร
5.
ปลูกได้ประมาณ 7-10 วัน โรยปุ๋ยคอกพอประมาณ โดยพรวนผสมในดิน แล้วตามด้วยปุ๋ยชีวภาพยี่ห้อช้างเหล็กประมาณ 1 ช้อนแกงต่อต้น โดยใส่ปุ๋ยชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง
6.
ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพทำให้พริกสวย โตเร็ว และรดบำรุงเพิ่มด้วยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักสดในอัตรา น้ำหมัก 2 แก้ว + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน เพื่อเป็นการบำรุงและให้อาหารทางใบแก่ต้นพริก
การดูแลรักษา
  • การให้น้ำโดยสปริงเกอร์ ระยะห่างของสปริงเกอร์ 5 เมตร และสูงจากพื้นดิน 1.20 เมตร
  • การปลูกระยะแรกพริกอายุ 1 - 20 วัน ให้น้ำเช้า เย็น (ขึ้นอยู่กับความชื้น)
  • พริกอายุ 20 วัน ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ตอนเย็น
  • ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อพริกอายุ 45 วัน อัตราส่วน 1 ช้อนชา/ตัน
  • ฉีดปุ๋ยน้ำชีวภาพทุก 10 วัน อัตราส่วน 2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร
การเก็บเกี่ยว
  • พริกอายุ 2 เดือน เริ่มออกดอก 3 เดือนครึ่ง ถึง 4 เดือน เริ่มเก็บพริกชุดแรก

การปลูกข้าวอินทรีย์
1. การเลือกพื้นที่ปลูก
เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก
2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก ควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก
3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีความงอกแรง ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลง และเมล็ดวัชพืช
4. การเตรียมดิน
สร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด
5. วิธีปลูก
การปลูกข้าวแบบปักดำ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน ในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิดโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี
6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี การเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ไดเปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ คำแนะนำมีดังนี้
1) การจัดการดิน
- ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน
- ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละน้อย
- ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าวและหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ควรปลูกพืชเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน
2) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่
- ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก หรือจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา
- ปุ๋ยหมัก ควรทำในพื้นที่นาหรือบริเวณที่ไม่ห่างจากแปลงนา เพื่อความสะดวกในการใช้ และควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมักเพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร
- ปุ๋ยพืชสด ควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และปลูกก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสด และไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าว
- ปุ๋ยน้ำหมักหรือน้ำสกัดชีวภาพ ควรทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นาในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดงละลายน้ำ แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ น้ำสกัดจากสัตว์ ได้แก่ หอยเชอรี่ ปูนา เศษปลาหรือเศษเนื้อ น้ำสกัดจากพืช ได้แก่ผัก และ พืชสมุนไพรต่างๆ และ น้ำสกัดจากผลไม ได้แก่ เศษผลไม้ต่างๆ จากครัวเรือน
3) การใช้อินทรียวัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี
สามารถนำอินทรีย์วัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้ ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิด
- แหล่งธาตุไนโตรเจน เช่น แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา และเลือดสัตว์แห้ง เป็นต้น
- แหล่งธาตุฟอสฟอรัส เช่น หินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาวกากเมล็ดพืชขี้เถ้าไม้ และสาหร่ายทะเล เป็นต้น
- แหล่งธาตุโพแทสเซียม เช่น ขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด
- แหล่งธาตุแคลเซียม เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอยและกระดูกป่น
7. การควบคุมวัชพืช
ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ การใช้เครื่องมือ และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น
8. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช หลักการสำคัญมีดังนี้
- ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน
- การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลง กำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง
- จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาด เช่น การกำจัดวัชพืช การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว
- รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และศัตรูธรรมชาติ
- ปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนา เช่น ตะไคร้หอม
- หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม และใบแคฝรั่ง เป็นต้น
- ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อ ใช้กับดัก และใช้กาวเหนียว
- หากใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่น นำไปผสมกับเหยื่อล่อในกับดักแมลง หรือใช้สารพิษกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง และต้องกำจัดสารเคมีที่เหลือรวมทั้งศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษอย่างถูกวิธีหลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว
9. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น
เก็บเกี่ยวข้าวหลังจากออกดอก ประมาณ 28-30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวสุกแก่เมล็ดเปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า ระยะพลับพลึง เพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บรักษา และทำให้มีคุณภาพการสีดี
10. การเก็บรักษาข้าวเปลือก เมื่อลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่ในภาชนะที่แยกต่างหากจากข้าวที่ผลิตโดยวิธีอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...