13 มกราคม 2554

คำขวัญวันครู ประจำปี ๒๕๕๓ โองการอัญเชิญบูรพาจารย์(ฉบับเต็ม) | kru day teacher day ong karn un chern bu ra pa jarn

คำขวัญวันครู ประจำปี ๒๕๕๓

คำขวัญวันครู ประจำปี ๒๕๕๓
"น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที"

ขออวยพรให้คุณครูทุกท่าน..มีความสุข..เจริญในหน้าที่การงานสืบไป



ดอกกล้วยไม้ : ดอกไม้วันครู

คณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีมติกำหนดให้
ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้ประจำวันครู โดยพิจารณาเห็นว่าธรรมชาติ
ของดอกกล้วยไม้มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานจัดการศึกษาและ
สภาพชีวิตของครูดังคำกลอนของ ท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่ว่า


"กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป ฉันนั้น
แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น
การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม"

นอกจากนี้กล้วยไม้เป็นพืชที่อยู่ในที่สูง ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ไม่ร่วงโรยง่าย เปรียบเหมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทย ที่ต้องอดทนต่อสู้
เพื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ


โองการอัญเชิญบูรพาจารย์(ฉบับเต็ม)

ร่าย โอม บังคมปฐมบูรพาจารย์ ผู้ทรงประสาทการศิลปะวิทยา
เป็นอาภรณ์ประดับภพ สบพุทธิปัญญาอเนกชน ดลระลึกตรึกชอบ
ก่อปอร์ปคุณสุนทรีย์ ทวีหิริโอตตัปปะ อุตสาหะการเรียน
พากเพียรกระบวนช่าง รอบรู้ทุกอย่างเชี่ยวชาญ วิทยาการรุ่งไพโรจน์
สำเร็จประโยชน์เพราะพระบารมี
ข้าขออัญชลีบังคมบาท อดิศรราชพรหมธาดา ทั้งอัครชายาสุรัสวดี
ธำรงคัมภีร์อักษรศาสตร์ดุริยางค์

ข้านบองค์ทรงสุบรรณเหิรนภางค์คือนารายณ์ หัตถุ์ขวาซ้ายทั้งสี่
ทรงตรีคทาจักรสังข์ บังลังก์อนันตนาคราช พร้อมลักษมีอนงค์นาถภควดี

ข้านบองค์มเหศวรศุลีศรีคีรินทร์ไกรลาส ประทานศาสตร์เจ็ดประการ
พื้นฐานก่อนสัมมาอาชีวะ พร้อมอัคระชายาอุมาเทวี

ข้านบองค์คณบดีคชมุขนาถ ทรงมุสิกอาสน์อลังการ ประหาร-
อุปสรรคสรรพพินาศ ประสาธน์ศิลปะนานา

ข้านบมหาเทวาจารย์หัตถกิจ คือองค์พระวิษณุกรม หัตถ์สดำ-
ทรงผึ่ง เป็นหนึ่งงานสถาปนา ล้วนโอฬาร์เลิศตระการ

ข้านมัสการคุรุเทวะพระพฤหัสบดี ทรงประสิทธิ์ศรีศิลปะวิทยา
มีอรรถพจนาสั่งสอน พ้นมืดมนกลับชัลวาลย์

ขอปวงคุรุเทวาบูรพาจารย์ โปรดประทานสวัสดิมงคล
พูลผลไปทั่วอาณาจักร์ บริรักษ์ประชาราษฎร์นิราสทุกข์
องค์พระประมุขนิรัติศัยยืนยิ่ง เป็นมิ่งเป็นขวัญ ตราบนิรันดร์ โสตถิเทอญ

(ใช้เวลาอ่านประมาณ ๗ นาที)





โองการอัญเชิญบูรพาจารย์(ฉบับย่อ)

โอม บังคมปฐมบูรพาจารย์ ธ คือ ประธานทั้งสามโลก
สิทธิโชคประสาธน์ศิลปวิทยา ปวงข้าจัดพิธีบูชาเยี่ยงก่อนกาล
สืบเบาราณประเพณี
ขอนบคณบดีคชมุขนาถ ผู้ทรงสรรพศาสตร์
นานาประการ
คุรุเทวะนมัสการ ภูบาลพระพฤหัสบดี
มีอรรถพจนาสั่งสอนชน พ้นมืดมนกลับชัชวาลย์
ขอ ธ โปรดประทานสวัสดิมงคล พูนผลไปทั่วอาราจักร

บริรักษ์ประชาราษฎร์นิราศทุกข์ องค์พระประมุขนิรัติศัยยืนยิ่ง
เป็นมิ่งเป็นขวัญตราบนิรันดร์ โสต ถิ เทอญ

(ใช้เวลาอ่านประมาณ ๓ นาที)



คำฉันท์ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
(คำประพันธ์ของ พระวรเวทย์พิสิฐ)

ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา

(วสันตดิลกฉันท์)

ข้าขอประนมกรกระพุม อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประคองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ ลุฉลาดประสาทสรรพ์
ปาบบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครัน
เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ

ปญญาวุฑฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหํ
*****************************

คำปฏิญาณ

ข้าขอปฏิญาณตนว่า

ข้อ ๑ ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ ๒ ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ ๓ ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม

(ครูประจำการอาวุโสกล่าวคำปฏิญาณตนนำเป็นตอนๆ
แล้วให้คณะครูกล่าวตามจนจบคำปฏิญาณ)



ประวัติวันครูของประเทศไทย

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้

กิจกรรมทางศาสนา
พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยา

ที่มาข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...