01 ตุลาคม 2553

การตรวจดีเอ็นเอ | DNA testing parent testing where service testing cost

เหตุแห่งการตรวจดีเอ็นเอ เช่น
- รับรองบุตร (ต้องมีหนังสือส่งตัวจากที่ว่าการอำเภอ)
- ขอมีถิ่นที่อยู่ (ต้องมีหนังสือส่งตัวจาก ตม.)
- ใช้ในศาล (ต้องมีหนังสือส่งตัวจากศาล)
- แจ้งทะเบียนราษฏ์ ขอมีบัตรประชาชน ฯ (ต้องมีหนังสือส่งตัวจากที่ว่าการอำเภอ)
- อื่นๆทางราชการ ฯลฯ[/tex] (ต้องมีหนังสือส่งตัวจาก ราชการนั้นๆ)
- ต้องการทราบความสัมพันธ์ทางครอบครัว


ความแม่นยำของการตรวจดีเอ็นเอ
การตรวจดีเอ็นเอในห้องปฏิบัติการ ที่ได้มาตรฐานทุกแห่งพบว่ามีความแม่นยำ มากถึงร้อยละ 100 ในทางปฏิบัติ จะพิจารณาความแม่นยำของการทดสอบร่วมกับปัจจัยทางชีวภาพความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องทำให้ผลการทดสอบมีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือสูงมากในบางห้องปฏิบัติการอาจมีการทดสอบแบบแผนสารพันธุกรรมจากสิ่งส่งตรวจของบุคคลที่สามเพิ่มเติมแต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว

ใช้อะไรในการตรวจดีเอ็นเอ

  • เลือด
  • เซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้ม



วิธีการตรวจ DNA
การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา อาจใช้วิธีตรวจจากเลือด หรือตรวจจากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้มก็ได้ โดยนำสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการสกัดดีเอ็นเอ ผ่านขั้นตอนกระบวนกรรมวิธีทำให้ดีเอ็นเอเป็นสารบริสุทธิ์ จากนั้นเตรียมดีเอ็นเอที่สกัดได้ นำมาทำการทดสอบกับชุดทดสอบที่เรียกว่า DNA markers จำนวน 16 ชุด ผลที่ได้จะเป็นแบบแผนสารพันธุกรรมของสิ่งส่งตรวจ เมื่อนำแบบแผนสารพันธุกรรมของสิ่งส่งตรวจทั้งหมดมาเปรียบเทียบกันแล้ว ทางห้องปฏิบัติการสามารถใช้การวิเคราะห์ทางสถิติคำนวณความน่าจะเป็น ซึ่งเรียกว่า probability of paternity

การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา
อาจไม่ได้ตรวจเพียงวิธีเดียวเช่นเดียวกับหลักการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทั่วไปในกรณีที่ต้องการทดสอบความเป็นพี่น้องหรือลูกหลานเว้นชั่วอายุคนพบว่าด้วยเทคนิคดังกล่าวจะมีความแม่นยำประมาณร้อยละ 90


การตรวจดีเอ็นเอจากเซลล์เยื่อบุช่องปาก
การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา โดยการตรวจดีเอ็นเอจากเซลล์เยื่อบุช่องปาก จะให้ผลการทดสอบที่มีความแม่นยำเช่นเดียวกับการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ ความเป็นบิดา โดยการตรวจเลือด อย่างไรก็ตาม อาจพิจารณาตรวจดีเอ็นเอจากเซลล์เยื่อบุช่องปาก ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจเพิ่งได้รับเลือดมา หรือในกรณีผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ สำหรับการตรวจดีเอ็นเอนั้น เด็กจะมีอายุเท่าใดก็ได้ ผลการตรวจจะเหมือนกัน ไม่ขึ้นกับอายุ


สถานที่ที่รับตรวจ DNA
  • สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม 
  • สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานกรมตำรวจแห่งชาติ 
  • ภาควิชา นิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล 
  • หน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในส่วนของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
  • สถานที่ตรวจอื่นๆ โรงพยาบาล ศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลจุฬาฯ ค่าตรวจและระยะเวลาการออกผลตรวจไม่เท่ากันค่ะ 
  • อาคารสถาบันนิติเวชวิทยา ชั้น2 กลุ่มงานตรวจพิสูจน์บุคคลฯ ตรวจดีเอ็นเอที่รพ. ตำรวจอยู่ในส่วน ของ สถาบันนิติเวชวิทยา นะคะ
  • ตรวจหาความสำพันธ์อื่นๆหรือมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อ 02-2512925 กลุ่มงานตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลฯ
หลักฐานที่ต้องใช้คือ 
  • - ใบยินยอมให้ทำการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางมารดาบิดาและบุตร 
  • - สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมตัวจริง 
  • - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมตัวจริง 
  • - สูติบัตร ( บุตร) 
  • - บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 2 ชุด
  • - พาสปอร์ต Passport
  • - หนังสือส่งตรวจDNAจากทางราชการ กรณีขอมีถิ่นที่อยู่ หรือนำไปใช้ยืนยัน ทางราชการ
  • ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรณีที่เกียวข้อง

อัตราค่าบริการ  ข้อมูลจากหลายๆที่ มีประมาณนี้
  • เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางมารดาบิดาและบุตร ประมาณ 4500 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายได้ก็ให้ทำหนังสือนำส่งตรวจ (ซึ่งต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ให้รับรองว่าเป็นผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายได้ ) ใช้เวลาในการตรวจ 5 - 7 วันทำการ
  • ตรวจหาความสำพันธ์ พ่อ-แม่-ลูก คนละ 4,200 บาท รวม 3 คน 12,600 บาท
  • ตรวจหาความสำพันธ์ พ่อ-ลูกผู้ชาย (ปู่-หลานชาย) คนละ 6,500 บาท รวม 2 คน 13,000 บาท
  • ตรวจหาความสำพันธ์ พ่อ-ลูกผู้หญิง คนละ 4,200 บาท รวม 2 คน 8,400 บาท (ผลไม่ยืนยัน 100%)
  • ตรวจหาความสำพันธ์ แม่-ลูก(หญิงหรือชาย) คนละ 8,500 บาท รวม 2 คน 17,000 บาท
  • ตรวจหาความสำพันธ์ พี่น้อง คนละ 8,500 บาท รวม 2 คน 17,000 บาท 
ขอขอบคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...