16 ธันวาคม 2552

เขมรพวง

* หน้าบ้าน
* ครูเพลง
* นักร้อง
* นักดนตรี
* บทเพลง
* บทความ
* บทกลอน
* ภาพประทับใจ
* สายใยสัมพันธ์
* คลิปวีดิโอ
* คอนเสิร์ต
* กระทู้

* สมาชิก
* กิจกรรมสมาชิก
* กิจกรรมพิเศษ
* ชวนชื่นชม
* ซีดีเพลง
* สุนทราภรณ์ออนไลน์
* พบปะพูดคุย
* มุมพักผ่อน
* คาราโอเกะ

00059
ที่มาของเพลง ปทุมมาลย์
เพลงปทุมมาลย์

*ปทุมมาลย์จอมขวัญ
น้องที่พี่ฝันเพ้อรำพันใฝ่หา
โอ้แก้วตา ดอกฟ้าสวรรค์
ปทุมมาลย์ฟ้าท่านคงประทาน..มาให้ฉัน
โฉมงามนั่น คืนวันมั่นหมายใจ
(ซ้ำ*)
**รักรัญจวนป่วนใจ..ให้กระสัน
ผูกพันรักอาลัย ขวัญตาขวัญมาประดับใจ
เจ้าอยู่..ไหน โอ้ปทุมไฉไล..หัวใจพี่ปรารถนา
พี่เผ้าแต่มองหมายปองเจ้า แม้เงาพี่ก็เฝ้าแลหา
โอ้ปทุมมาลย์ หวานใจของข้า น้องจงเมตตาพี่เอย
(ซ้ำ**)

เพลงเขมรพวง

เพลงเขมรพวง อัตราสองชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี 2 ท่อน ท่อน 1 มี 4 จังหวะ ท่อน 2 มี 6 จังหวะ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงปรับเพลงร้องสำหรับแสดงประกอบ “การแสดงภาพนิ่ง” (tableau vivant) ขึ้นถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีอยู 8 เรื่อง แต่เฉพาะในเรื่องขอมดำดิน ทรงบรรจุ ทำนองเพลงเขมรพวง
ให้ร้องในบทของ พระปทุม (ท้าวพันธุม) พระนิพนธ์นั้นขึ้นต้นว่า “เมื่อนั้นพระประทุมสุริยวงศ์ทรางขรรค์” เนื้อร้องและทางดนตรีในชุดนี้ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนแม้แต่ผู้ที่มิใช่นักร้อง นักดนตรี ก็จำเอาไปร้องกัน ด้วยความที่จำแต่เนื้อร้อง จึงทำให้ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงที่แท้จริง เรียกเพลงเขมรพวงตาม บทร้องว่า “เขมรพระประทุม”
ในปี พ.ศ. 2460 ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรพวงสองฃั้น(เพลงเขมรพระประทุม” มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้น อิกสี่ปีต่อมาาาา ในปี พ.ศ. 2464 หมื่นประคมเพลงประสาน(ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา โดยมีนายเหมือน ดุริยประกิต ทำทางร้อง
ต่อมาครูเอื้อ สุนทรสนาน นำเพลงเขมรพวงสองชั้น มาดัดแปลง แล้วบรรจุคำร้องที่ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่ง ให้ชื่อว่า “เพลงปทุมมาลย์” จนเป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงเป็นอย่างสูงเพลงหนึ่ง

© สมถวิล 30 มีนาคม 45 เวลา 15:29 น.

ความเห็นที่ 1
เคยได้ฟังมาว่าเพลงเขมรพวงหนึ่งชั้น สองชั้น สามชั้น
ทั้งเถาเลย เป็นเพลง สุนทราภรณ์ อยู่ 3 เพลง ถ้าที่ฟังมาจริง
ต้องมีอีกสองเพลงครับ คุณนิมิตสวรรค์หรือผู้รู้ช่วยด้วยครับ
© โย่ง 30 มีนาคม 45 เวลา 20:50 น.

ความเห็นที่ 2
พุ่มพวงดวงใจ

(ชาย) โอ้พุ่มพวงดวงใจ แสนงอนไปได้ ยิ้มกันนิดหน่อยเป็นไรใจพี่อาวรณ์
(หญิง) ก็ใครไหนเล่า เขาทำแสนงอน อย่ามาวอนเพราะเธองอนก่อน
(ชาย) พี่งอนกับใครไหนกัน (หญิง) พบเธอพาให้เคีองขุ่นใจ
(ชาย) เลือกหยิกเอา เอ้าหยิกตรงไหน
(หญิง) ก็ไปควงคู่อยู่กับใคร ไปให้ไกลฉัน
(ชาย) พี่อุ่นใจกอดสาว จะไปให้หนาวไยกัน
(หญิง) มีคนเขาคอยอยู่ พี่มียอดชู้รำพัน
(ชาย) พี่มีเพียงจอมขวัญ ทุกวันเรื่อยมา หวาน..
(หญิง) หวาน (ชาย) ใจ (หญิง) ใจ
(ชาย) ของ (หญิง) ของ (ชาย) พี่ (หญิง) พี่
(หญิง) เดี๋ยวนี้คงไม่มี หวานกลายเป็นเหมือนยา คนใจคด น้ำพริกต้มผักหมดรส เธอจึงไม่แลหา
(ชาย) โอ้พุ่มพวงดวงตา หวานจริงยิ่งกว่า หวานใดใจเจ้าจำ
(หญิง) ถ้าเชื่อคำคม เดี๋ยวจะต้องช้ำตรม ลมปากนี้เคยพร่ำรัก ..
(ชาย) รัก (หญิง) จริง (ชาย) จริง
(หญิง) ใจ (ชาย) ใจ (หญิง) มั่น (ชาย) มั่น
(ชาย) จะให้พี่สาบาน ที่ไหนยอมทำ
(หญิง) อย่าหลอก (ชาย) ไม่หลอก (หญิง) จริงๆ (ชาย) จริงๆ
(หญิง) พนมมือ (ชาย) พนมมือ (หญิง) ตามคำ (ชาย) ตามคำ
(หญิง) หญิง (ชาย) หญิง (หญิง) ใด (ชาย) ใด
(หญิง) ไม่ (ชาย) ไม่ (หญิง) เกี่ยว (ชาย) เกี่ยว
(หญิง) รัก (ชาย) รัก (หญิง) เดียว (ชาย) เดียว
(หญิง) จน (ชาย)จน (หญิง)ตาย (ชาย) ตาย
(หญิง) วันใดฉันลืมคำที่กล่าวมา ขอให้ฟ้าผ่าตาย
(ชาย) รุนแรงเหลือเกินเจ้า
(หญิง) โธ่..เพื่อเราจะรักกันไม่หน่าย
(ชาย) วันใดฉันลืมคำที่กล่าวมา ขอให้ฟ้าฝ่าตาย
(หญิง) รางวัลที่สาบานให้
(ชาย) ชื่นใจ ขอให้หอมปรางพุ่มพวง

ครูธนิต ผลประเสริฐ ได้นำทำนองเพลงเขมรพวง 3 ชั้น มาดัดแปลงแล้วบรรจุเนื่อร้องที่คุณสมศักดิ์ เทพานนท์ แต่ง ให้ชื่อใหม่ว่า “เพลงพุ่มพวงดวงใจ” มอบให้คุณวินัย จุลบุษปะ และคุณชวลีย์ ช่วงวิทย์เป็นผู้ขับร้อง

ชั้นเดียว..... ไม่ทราบครับ
© นิมิตฯ 30 มีนาคม 45 เวลา 21:19 น.

ความเห็นที่ 3
เพลงเขมรพวงอัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี 2 ท่อน ท่อน 1 มี 4 จังหวะ ท่อน 2 มี 6 จังหวะ
ประมาณ พ.ศ. 2460 – 2462 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ได้ทรงนิพนธ์ขยายขึ้นเป็น
อัตรา สามชั้น โปรดให้จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งชั้นเดียวต่อจนครบเป็นเพลงเถา ทรงเขียนเป็นโน็ตสากลประทานให้กองดุริยางค์ทหารเรือ บรรเลงด้วยวงโยธวาทิต มีทั้งทางร้องและทางดนตรี ทั้งเที่ยวต้นและเที่ยวกลับอย่างละ 2 เที่ยวไม่เหมือนกัน
ราวปี พ.ศ. 2460 ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรพวงสองฃั้นของเก่ามาแต่งขยายขึ้นเป็น
อัตรา 3 ชั้นให้มีสำนวนทำนองเป็นทางกรอ สำนวนเขมร แบบเดียวกับเพลงเขมรเลียบพระนคร และเรียกชื่อตามของเดิมว่า “เพลงเขมรพวง”
ต่อมาครูธนิต ผลประเสริฐ ได้นำทำนองเพลงเขมรพวง 3 ชั้น มาดัดแปลงแล้วบรรจุเนื่อร้องที่คุณสมศักดิ์ เทพานนท์ แต่ง ให้ชื่อใหม่ว่า “เพลงพุ่มพวงดวงใจ” มอบให้คุณวินัย จุลบุษปะ และคุณชวลีย์ ช่วงวิทย์เป็นผู้ขับร้อง จนได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนบัดนี้
© สมถวิล 31 มีนาคม 45 เวลา 20:55 น.



โปรดอ่าน ก่อนแสดงความเห็น
ข้อความ
จากคุณ
โปรดหลีกเลี่ยงการใช้หลายชื่อในห้องกระทู้
เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในการเข้าบ้านคนรักสุนทราภรณ์ครั้งต่อไป

บ้านคนรักสุนทราภรณ์ เว็บไซต์สำหรับคนรักบทเพลงสุนทราภรณ์ เปิดบริการตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2545
เว็บไซต์นี้ออกแบบสำหรับ Internet Explorer Version 6 ขึ้นไป หน้าจอกว้าง 800 พิกเซลขึ้นไป ขนาดตัวอักษร Medium

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...