16 ธันวาคม 2552

พลงเขมรพวง เถา
เพลงเขมรพวง เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

เพลงเขมรพวง อัตรา ๒ ชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับเพลงร้องสำหรับประกอบ “การแสดงภาพนิ่ง” (Tableau Vivant) ขึ้นถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราช -กุมาร มีอยู่ ๘ เรื่อง แต่เฉพาะในเรื่องขอมดำดินทรงบรรจุทำนองเขมรพวงให้ร้องในบทของพระประทุม (ท้าวพันธุม) พระนิพนธ์นั้ขึ้นต้นว่า “เมื่อนั้นพระประทุมสุริยวงศ์ทรงขรรค์” เนื้อร้องและทางดนตรีในชุดน้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนแม้แต่ผู้ที่มิ ใช่นักร้องนักดนตรีก็จำเอาไปร้องกัน ด้วยความที่จำแต่เนื้อร้องจึงทำให้ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงที่แท้จริงเรียก เพลงเขมรพวงไปตามบทร้องว่า “ เขมพระปทุม”
ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงนิพนธ์ขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น โปรดให้จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งชั้นเดียวต่อจนครบเป็นเพลงเถา ทรงเขียนเป็นโน้ตสากลประทานให้กองดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงโดยวงโยธวาทิต มีทั้งทางร้องและทางดนตรีทั้งเที่ยวต้นและเที่ยวกลับอย่างละ ๒ เที่ยวไม่เหมือนกัน จึงต้องร้องทั้งเถายาวถึง ๑๒ ท่อน ใช้เวลาบรรเลงนานมาก
บทร้องโปรดให้นางเจริญ พาทยโกศล ตัดตอนมาจากบทเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างแล้วชมม่านฝีมือวันทอง ทางร้องทรงพระกรุณาต่อประทานคุณหญิงไพฑูรย์- กิตติวรรณ ด้วยพระองค์เอง
ราวพ.ศ.๒๔๖๐ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรพวงมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น ให้มีสำนวนทำนองเป็นทางกรอสำเนียงเขมร แบบเดียวกับเขมรเลียบพระนคร และเรียกชื่อตามของเดิมว่า “เพลงเขมรพวง” แม้เพลงนี้จะแต่งภายหลังเพลงเขมรเลียบพระนครแต่ก็เป็นเพลงทางกรอที่ได้รับ ความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุด ยิ่งกว่าเพลงใดๆ ในบรรดาเพลงทางกรอของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และถือเป็นแบบฉบับของเพลงประเภททางกรอ
เมื่อราว พ.ศ.๒๔๖๔ สมัยที่นิยมร้องเพลงเถากันโดยทั่วๆ ไป หมื่นประคม เพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้คิดตัดแต่งจากอัตรา ๒ ชั้นของเดิมลงเป็นอัตราชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา โดยทางร้องชั้นเดียวนั้น นายเหมือน ดูรยประกิต เป็นผู้คิดขึ้น




บทร้องเพลงเขมรพวง เถา
บทร้องที่ ๑

๓ ชั้น เจ้าปักเป็นป่าพนาเวศ ขอบเขตเขาคลุ้ม (พนมเอย) ชอุ่มเขียว
รุกขชาติดาดใบระบัดเรียว พริ้งเพรียวดอกดกระดะดวง
ปักเป็นมยุราลงรำร่อน ฝ่ายฟ้อนอยู่บนยอด (กุโงกเอย) ภูเขาหลวง
แผ่หางกางปีกเป็นพุ่มพวง ชะนีหน่วงเหนี่ยวไม้ชม้อยตา
๒ ชั้น ปักเป็นหิมพานต์ตระหง่านงาม อร่ามรูปพระสุเมรุภูผา
วินันตกหัศกันเป็นหลั่นมา การวิกอิสินธรยุคุนธร
อากาศคงคาชลาสินธุ์ มุจลินทร์ห้าแถวแนวสลอน
ไกรลาสสะอาดเอี่ยมอรชร ฝูงกินนรคนธรรพ์วิทยา
ชั้นเดียว ลงเล่นน้ำดำดั้นอโนดาต ใสสะอาดเยือกเย็นเห็นขอบผา
หมู่มังกรล่อแก้วแพรวพรายตา ทัศนารำลึกถึงวันทอง
ห้ำหั่นฟันม่านผลาสับ ระยำยับย่างเข้าไปชั้นสอง
น่ารักปักเอี่ยมลออออง น้องเอ๋ยช่างฉลาดล้ำมนุษย์

เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน

บทร้องที่ ๒

๓ ชั้น เจ้างามปลอดยอดรักของพลายแก้ว ได้มาแล้วแม่อย่าขับให้กลีบหนี
พี่สู้ตายไม่เสียดายแก่ชีวี แก้วพี่อย่าได้พร่ำรำพันความ
๒ ชั้น พี่ผิดพี่ก็มาลุแก่โทษ จงคลายโกรธแม่อย่าถือว่าหยาบหยาม
พี่ชมโฉมโลมลูบด้วยใจงาม ทรามสวาทดิ้นไปไม่ใยดี
ชั้นเดียว รอยเล็บแม่จึงเจ็บด้วยหยิกต้อง ขัดข้องเพราะเจ้าปัดสลัดพี่
ค้อนควักผลักพลิกแล้วหยิกตี ถ้อยทีถูกข่วนแต่ล้วนเล็บ

เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...