16 ธันวาคม 2552

[1]

[2]

[3]

[4]


หน้า 4

พุ่มพวงดวงใจ

(ชาย) โอ้พุ่มพวงดวงใจ แสนงอนไปได้ ยิ้มกันนิดหน่อยเป็นไรใจพี่อาวรณ์
(หญิง) ก็ใครไหนเล่า เขาทำแสนงอน อย่ามาวอนเพราะเธองอนก่อน
(ชาย) พี่งอนกับใครไหนกัน (หญิง) พบเธอพาให้เคีองขุ่นใจ
(ชาย) เลือกหยิกเอา เอ้าหยิกตรงไหน
(หญิง) ก็ไปควงคู่อยู่กับใคร ไปให้ไกลฉัน
(ชาย) พี่อุ่นใจกอดสาว จะไปให้หนาวไยกัน
(หญิง) มีคนเขาคอยอยู่ พี่มียอดชู้รำพัน
(ชาย) พี่มีเพียงจอมขวัญ ทุกวันเรื่อยมา หวาน..
(หญิง) หวาน (ชาย) ใจ (หญิง) ใจ
(ชาย) ของ (หญิง) ของ (ชาย) พี่ (หญิง) พี่
(หญิง) เดี๋ยวนี้คงไม่มี หวานกลายเป็นเหมือนยา คนใจคด น้ำพริกต้มผักหมดรส เธอจึงไม่แลหา
(ชาย) โอ้พุ่มพวงดวงตา หวานจริงยิ่งกว่า หวานใดใจเจ้าจำ
(หญิง) ถ้าเชื่อคำคม เดี๋ยวจะต้องช้ำตรม ลมปากนี้เคยพร่ำรัก ..
(ชาย) รัก (หญิง) จริง (ชาย) จริง
(หญิง) ใจ (ชาย) ใจ (หญิง) มั่น (ชาย) มั่น
(ชาย) จะให้พี่สาบาน ที่ไหนยอมทำ
(หญิง) อย่าหลอก (ชาย) ไม่หลอก (หญิง) จริงๆ (ชาย) จริงๆ
(หญิง) พนมมือ (ชาย) พนมมือ (หญิง) ตามคำ (ชาย) ตามคำ
(หญิง) หญิง (ชาย) หญิง (หญิง) ใด (ชาย) ใด
(หญิง) ไม่ (ชาย) ไม่ (หญิง) เกี่ยว (ชาย) เกี่ยว
(หญิง) รัก (ชาย) รัก (หญิง) เดียว (ชาย) เดียว
(หญิง) จน (ชาย)จน (หญิง)ตาย (ชาย) ตาย
(หญิง) วันใดฉันลืมคำที่กล่าวมา ขอให้ฟ้าผ่าตาย
(ชาย) รุนแรงเหลือเกินเจ้า
(หญิง) โธ่..เพื่อเราจะรักกันไม่หน่าย
(ชาย) วันใดฉันลืมคำที่กล่าวมา ขอให้ฟ้าฝ่าตาย
(หญิง) รางวัลที่สาบานให้
(ชาย) ชื่นใจ ขอให้หอมปรางพุ่มพวง

เพลงเขมรพวง 3 ชั้น

เพลงเขมรพวงอัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี 2 ท่อน ท่อน 1 มี 4 จังหวะ ท่อน 2 มี 6 จังหวะ
ประมาณ พ.ศ. 2460 – 2462 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ได้ทรงนิพนธ์ขยายขึ้นเป็น
อัตรา สามชั้น โปรดให้จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งชั้นเดียวต่อจนครบเป็นเพลงเถา ทรงเขียนเป็นโน็ตสากลประทานให้กองดุริยางค์ทหารเรือ บรรเลงด้วยวงโยธวาทิต มีทั้งทางร้องและทางดนตรี ทั้งเที่ยวต้นและเที่ยวกลับอย่างละ 2 เที่ยวไม่เหมือนกัน
ราวปี พ.ศ. 2460 ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรพวงสองฃั้นของเก่ามาแต่งขยายขึ้นเป็น
อัตรา 3 ชั้นให้มีสำนวนทำนองเป็นทางกรอ สำนวนเขมร แบบเดียวกับเพลงเขมรเลียบพระนคร และเรียกชื่อตามของเดิมว่า “เพลงเขมรพวง”
ต่อมาครูธนิต ผลประเสริฐ ได้นำทำนองเพลงเขมรพวง 3 ชั้น มาดัดแปลงแล้วบรรจุเนื่อร้องที่คุณสมศักดิ์ เทพานนท์ แต่ง ให้ชื่อใหม่ว่า “เพลงพุ่มพวงดวงใจ” มอบให้คุณวินัย จุลบุษปะ และคุณชวลีย์ ช่วงวิทย์เป็นผู้ขับร้อง จนได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนบัดนี้

ปทุมมาลย์

*ปทุมมาลย์จอมขวัญ
น้องที่พี่ฝันเพ้อรำพันใฝ่หา
โอ้แก้วตา ดอกฟ้าสวรรค์
ปทุมมาลย์ฟ้าท่านคงประทาน..มาให้ฉัน
โฉมงามนั่น คืนวันมั่นหมายใจ
(ซ้ำ*)
**รักรัญจวนป่วนใจ..ให้กระสัน
ผูกพันรักอาลัย ขวัญตาขวัญมาประดับใจ
เจ้าอยู่..ไหน โอ้ปทุมไฉไล..หัวใจพี่ปรารถนา
พี่เผ้าแต่มองหมายปองเจ้า แม้เงาพี่ก็เฝ้าแลหา
โอ้ปทุมมาลย์ หวานใจของข้า น้องจงเมตตาพี่เอย
(ซ้ำ**)

เพลงเขมรพวง

เพลงเขมรพวง อัตราสองชั้นของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี 2 ท่อน ท่อน 1 มี 4 จังหวะ ท่อน 2 มี 6 จังหวะ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงปรับเพลงร้องสำหรับแสดงประกอบ “การแสดงภาพนิ่ง” (tableau vivant) ขึ้นถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีอยู 8 เรื่อง แต่เฉพาะในเรื่องขอมดำดิน ทรงบรรจุ ทำนองเพลงเขมรพวง
ให้ร้องในบทของ พระปทุม (ท้าวพันธุม) พระนิพนธ์นั้นขึ้นต้นว่า “เมื่อนั้นพระประทุมสุริยวงศ์ทรางขรรค์” เนื้อร้องและทางดนตรีในชุดนี้ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนแม้แต่ผู้ที่มิใช่นักร้อง นักดนตรี ก็จำเอาไปร้องกัน ด้วยความที่จำแต่เนื้อร้อง จึงทำให้ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงที่แท้จริง เรียกเพลงเขมรพวงตาม บทร้องว่า “เขมรพระประทุม”
ในปี พ.ศ. 2460 ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรพวงสองฃั้น(เพลงเขมรพระประทุม” มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้น อิกสี่ปีต่อมาาาา ในปี พ.ศ. 2464 หมื่นประคมเพลงประสาน(ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา โดยมีนายเหมือน ดุริยประกิต ทำทางร้อง
ต่อมาครูเอื้อ สุนทรสนาน นำเพลงเขมรพวงสองชั้น มาดัดแปลง แล้วบรรจุคำร้องที่ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่ง ให้ชื่อว่า “เพลงปทุมมาลย์” จนเป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงเป็นอย่างสูงเพลงหนึ่ง

บรเทศ

วันนี้วันดีศรีสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล
สุขาเทวามาดลขอให้ทุกคนสมใจ
สุขสันต์บันเทิงเริงร่าสถาพรชัย
รำร้องอวยพรวอนไหว้ขอให้ฤทัยภิรมย์
หนุ่มเข้าคู่สายรำฟ้อนสวยอรชรร่อนรำ
เหล่าลูกคู่ร้องลำนำสาวเจ้าก็รำขำคม
ต่างสนุกกันวันนี้เร้าเริงฤดีเขยชม
ร่วมความสุขสันต์เริงรมย์สังคมนิยมทุกวัน
เรายิ้มกันและกันมิ่งขวัญตัวเอง
เริงภิรมย์ด้วยเพลงครื้นเครงในหัวใจ
เราทุกคนร่าเริงเถลิงฤทัย
ความภิรมย์ตรมใจนิราศไปทุกคน
รำกันไปเบิกบานเสียงเพลงกังวาน สัญญาณความดี
รำกันไปสุขศรี ทิวาราตรี ทวีพิมล
รำกันไปให้พรขอความบวร สวมพรทุกคน
ความเจริญจุ่งดล รับความมงคล พูนผลนิรันดร์

เพลงต้นบรเทศ

เพลงต้นบรเทศ อัตราสองชั้น และชั้นเดียว เป็นของเก่าประเภทหน้าทับสองไม้ เป็นเพลงเร็ว ครูกล้อย ณ บางช้าง ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้น ให้มีเชิงสำนวนเป็นประโยคคู่ตลอดเพลง ความหมายของเพลงไปในเชิงพลอดรักสัพยอกเพลงต้นบรเทศสามชั้น เรียกอีกชื่อว่า”เพลงชมแสงจันทร์” ประมาณ พ.ศ. 2478 ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้แต่งทำนองเพลงชมแสงจันทร์ เฉพาะอัตราสามชั้นขึ้นอีกทางหนึ่ง ให้ชื่อว่า “เพลงชมแสงทอง 3 ชั้น)
ต่อมา ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีคณะสุนทราภรณ์ ได้นำทำนองเพลงต้นบรเทศ มาดัดแปลง และบรรจุคำร้องที่ครูแก้ว อัจฉริยกุล แต่งไว้ ให้ชื่อว่า”เพลงบรเทศ” เป็นที่นิยมมาจนปัจจุบันนี้

เพลง เดือนต่ำ-ดาวตก

เดือนต่ำดาวตก (ฮัม) วิหคร้อง เหมือนเสียงน้องครวญคร่ำร่ำเฉลยสารภีโชยกลิ่นเรณูเชย
เหมือนพี่เคยจูบเกศแก้วกานดา หอมระรวยชวนชื่นระรื่นจิตถวิลคิดครั้งเมื่อขนิษฐา สละศักดิ์ฐานันดรดวงดอกฟ้าต้องหนีหน้าวงศ์ญาติมาด้วยกัน
ณ เวิ้งอ่าวชายฝั่ง ณ ที่นี้ น้องช่วยพี่สร้างห้องหอสวรรค์
กระท่อมน้อย (ฮัม) คอยเตือน เรือนผูกพัน ระลึกวันขวัญสวาท อนาทรัก

เพลงพม่าแปลง

เพลงพม่าแปลง อัตราสองชั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ม.ล. ต่วนศรี วรวรรณ ได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลง มอญแปลง และเรียกชื่อใหม่ว่า
เพลง มะตะแบ แต่คนทั่วไปเรียกว่า พม่าแปลง ใช้บรรเลงตอนนางเอกโศกเศร้า ต่อมา ศ.ดร. อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้นำเพลงพม่าแปลงสองชั้น มาแต่งขยายเป็นอัตราาสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถาเพลงเดือนต่ำ-ดาวตก นี้ ครูแจ๋ว วรจักร หรือสง่า อารัมภีร ได้เขียนเล่าความเป็นมาของเพลงไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2492 “อิงอร” หรือ
นายศักดิ์เกษม หุตาคม ซึ่งเป็นชาวสงขลา เข้ามารับราชการในกรุงเทพ แล้วเขียนนวนิยายเรื่อง ดรรชนีนาง ลงในหนังสือประชามิตรมีชื่อเสียงโด่งดัง เมื่อนำมาแสดงละครที่ศาลาเฉลิมนคร โดยมีพระเอกนักประพันธ์ คือ ส. อาสนจินดา อิงอรก็ไปที่บ้านคุณชลหมู่ ชลานุเคราะห์ และไปแต่งเนื้อเพลง เดือนต่ำ-ดาวตกใช้เวลาเพียงสั้นๆเท่านั้นก็แต่งได้สำเร็จแล้วนำทำนองเพลงพม่าแปลง
สองชั้นมาดัดแปลงบรรจุคำร้อง ให้ชื่อว่าเพลง เดือนต่ำ-ดาวตก
เพลงนี้ ปรีชา บุนยเกียรติ เป็นผู้ร้องหลังฉาก แทนพระเอก ส. อาสนจินดา
โดยให้พระเอกทำลิปซิ้ง ทำให้เพลงโด่งดังมาก ปรีชา บุนยเกียรติ ได้นำติดตัวไปร้องตามวิทยุ กรมโฆษณาการ และกรมไปรษณีย์ที
่กระจายเสียงอยูที่ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ทำให้ปรีชา บุนยเกียรติ มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไปนับแต่นั้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...